การ Grip Ball ที่จะทำให้ท่านรอบปี๊ดดดดด


ถ้าพูดถึงเรื่องการ Grip Ball หรือการจับบอล  ปกติเราจะใส่นิ้วเข้าไป โดยใส่นิ้ย กลาง และ นาง ก่อนจากนั้นค่อยใส่นิ้วโป้งตามเข้าไป (แต่ Tommy Jones เขาเอานิ้วโป้งใส่ก่อน แล้วค่อยใส่ นิ้วกลางและนาง)

อันนี้คือเบสิค คิดว่าหลายท่านที่เล่นโบว์ลิ่งมาพอสมควร น่าจะเคยผ่านปัญหานิ้วโป้งบวม นิ้วโป้งปูด นิ้วโป้งด้าน เชื่อได้เลยว่าวิธีแก้ไขปัญหานี้ที่ฮิตสุดก็ไม่พ้น การแก้ไข Thumb Hole  หรือ รูนิ้วโป้ง ที่มันอาจจะฟิตไป กลมไป รีไป บ้าง สแปนเพี้ยนบ้าง  สมมติว่าท่านทำมาทั้งหมดแล้วแต่มันก็ยังไม่ดีขึ้นอยากให้ลองเช็คดูว่า เวลาที่ท่านจับบอล ท่านจิ๊กบอลหรือป่าว ? ถ้านึกไม่ออกว่าจิ๊กบอลคืออะไร  ลองดูภาพนี้ประกอบครับ

ภาพนี้เป็นภาพที่จิ๊กบอล

สาเหตุ  ของคนที่ชอบจิ๊กบอลนั้นจะเกิดจาก การที่บางครั้งถือบอลแบบเกร็ง  แบบว่าตั้งใจจะโยนให้แรง ๆ บ้าง ตั้งใจจะได้เกี่ยวบอลเยอะ ๆ จะได้มีรอบปี๊ด ๆ บ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านั้น บอกได้เลยว่าผิด  ถ้านึกภาพไม่ออก เราลองถือบอลขึ้นมาแล้วแกว่งดูครับ  ถ้าเราจับบอลโดยเกร็งนิ้วโป้งแบบว่า กำไว้เลย วงสวิงที่ได้ ไม่มีทาง Free swing แน่ ๆ ครับ เพราะมันจะเกร็งไปทั้งแขน

ทีนี้มาดูเคล็ดไม่ลับกันครับ จริง ๆ อาจารย์หลาย ๆ ท่านจะแนะนำว่า  ถ้าอยากจะแก้ไขการจิ๊กบอล ให้แก้โดยเอานิ้วโป้ง แปะไว้เฉย ๆ ที่ด้านในของ Thumb Hole หรือ พูดง่าย ๆ ก็คือ  ห้ามงอนิ้วโป้ง ตรงข้อ  วิธีนี้ดูเหมือนจะได้ผลครับ  แต่ไม่มีอาจารย์ท่านไหนเคยบอกผมว่า จริง ๆ แล้วนิ้วโป้งที่บอกว่าห้ามงอนั้นไม่ต้องออกแรงกด เพราะถ้าเราไม่งอจริง ไม่จิ๊กบอลแล้วจริง ๆ แต่ เรายังออกแรงกริ๊บบอลหนักขึ้นไปอีก เพราะว่ากลัวบอลตก ก็คิดดูสิครับ  ตอนเราจิ๊กซะขนาดนั้น เราก็เสียวว่ามันจะหลุดมือละ  พอห้ามจิ๊ก  ก็เลยยิ่งออกแรงกริ๊บมากขึ้นไปอีก  ทีนี้ไปกันใหญ่ เกร็งกล้ามโต

ปัญหาผมคือเรื่องนี้แหละครับ  มีหลาย ๆ คนที่เคยเห็นผมโยน มาแนะนำว่า วงสวิงของพี่อาร์ตมันขึ้นไปสูง  แต่พอตอนลงมามันเหมือนขาดพลัง  แบบเหมือนว่าเราพยายามเกร็ง  พยายามทำอะไรกับบอลมันมากไป  ซึ่งจริง ๆ แล้วเขาพูดถูกมาก ๆ เพราะผมเกร็ง โดยที่ผมไม่รู้ตัวว่าผมเกร็ง บอลแทนที่จะมีสปีด  ก็ไม่มี  จะมีรอบก็ไม่ใช่

แล้ววิธีแก้ไขละ จริงๆ  ผมบอกเลยว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด  เพียงแต่ผมนำมาอธิบายให้หลาย ๆ ท่านเข้าใจให้ง่ายขึ้น เพราะผมเคยเข้าใจผิดกับเรื่องนี้ไปอยู่นาน และเชื่อว่าปกติไม่มีใครเขามาบอกเรื่องนี้กัน มาลองดูภาพประกอบกันเลยครับผม

ภาพประกอบการจับบอลแบบถูกต้อง

สังเกตุว่าคำอธิบายในภาพที่ผมเขียนเอาไว้นั้น อยากให้หลาย ๆ คนลองหยิบบอลแล้วมาลองทำตามดูนะครับ ถ้าทำตามภาพที่บอก จะรู้สึกถึง Feeling ที่แตกต่างออกไปจากเดิมแน่ ๆ คือ

  1. นิ้วโป้งจะรู้สึกสบายขึ้น ไม่รู้สึกว่ามันเสียดสีกับรู
  2. จะรู้สึกว่าน้ำหนักของบอลจะตกลงมาที่โค่นนิ้วชี้มากขึ้น
คำเตือน เวลาที่ท่านฝึกใหม่ ๆ อยากให้ค่อยๆ แกว่งดูก่อน เพราะหากยังไม่ชิน  หรือรูนิ้วโป้งของเดิมมันหลวมเกินไป บอลอาจจะหลุดออกจากมือของท่านได้
ส่วนตัวของผมนั้น วันนี้ได้ไปทดสอบการจับบอลแบบนี้มา  และไปโยนที่ SF ราม ฯ มานั้นสิ่งที่รู้สึกได้เลยก็คือ Speed บอล  และรอบบอลมันมาโดยที่ไม่ต้องใส่แรงอะไรเลยจริง ๆ แค่ปล่อยให้วงสวิงมันพาไป ที่สำคัญคือ ผมไม่รู้สึกเกร็งตอนแกว่งบอลแล้ววววววววว  วันนี้พี่ที่โยนด้วยกันยังทักว่า “บอลเข้าพินแรงขึ้นเยอะเลย ไปทำอะไรมา?  ”   ผมแอบยิ้มในใจ …มันเป็นเคล็ดลับใหม่ ที่พึ่งได้มาครับ
สุดท้ายนี้ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้น่าจะทำให้หลาย ๆ คนโยนโบว์ลิ่งได้สนุกขึ้นครับผม
ปล.ช่วงนี้น้ำท่วมไม่มีอะไรทำ เลยมีเวลาเข้ามาเขียนบ่อย
บทความนี้ผมขอยกเครดิตให้กับ อาเล็ก ณ บางกะปิ (ตอนนี้ปิดปรับปรุง แกเลยมาซ้อมที่ SF ราม) แกแนะนำได้เห็นภาพมาก ๆ
Comments
  1. Brightbb Thanadul Supapitak
  2. ton11

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *